วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การบรรยายเรื่อง "Online Business with Google"



1.สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง การบรรยายเรื่อง "Online Business with Google"

     การประยุกต์ระบบออนไลน์มาใช้กับภาคธุรกิจเพื่อเปิดช่องทางการติดต่อซื้อขายสินค้า ด้วยการนำ ZMOT มาใช้เป็นส่วนเสริมในกระบวนการซื้อขายสินค้า ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเพื่อดูดความสนใจ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลสินค้าเอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ Google เป็นผู้ช่วยในการค้นหา ผู้ดำเนินธุรกิจต้องประยุกต์มาใช้ดิจิตอล 3.0 ที่สามารถค้นเจอบนหน้าของการค้นหาของ Google ได้ ซึ่งการค้นหาพบได้นั้นจะต้องมีปัจจัยประกอบดังนี้
         
  1. Get your business online คือ การเข้ามามีตัวตนบนโลกออนไลน์ การสามารถค้นพบได้ด้วย Search Engine ซึ่งให้เราอยู่ในผลการค้นหาได้ โดยส่วนใหญ่จะใช้ Google ในการค้นหา ซึ่งการค้นพบเป็นลำดับแรกๆจะต้องอาศัยค่า Page rang คือข้อมูลและจากจำนวนการเข้าชม ซึ่งจะเป็นค่าสะสมไว้ในการค้นหา
  2.      
  3. Be found – when customer is searching คือ การสามารถค้นพบได้จากการค้นหาเป็นลำดับแรกๆ ซึ่งอาจเป็นการค้นหาเจอได้โดยทั่วไปซึ่งจะต้องทำให้ค่า Page rang สูง หรือการค้นหาเจอโดยการซื้อตำแหน่งคำค้นหา หรือการโฆษณาโดยตัวค้นหาหรือ Google Adwords ซึ่งผู้ซื้อจะมีค่าใช้จ่ายทุกครั้งลูกค้าคลิกเข้าไป
  4.      
  5. Be reached – show where you are คือ การสามารถค้นหาเจอได้จากแผนที่อาจผ่านทาง Google maps เพื่อระบุตำแหน่งของห้างร้านคุณ

  6. Get closer to your customers คือ การใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น โดยการผ่านทาง Google plus ทำให้เสนอข้อมูลและคุยกับลูกค้าได้ ซึ่งปัจจุบัน Google สร้างพื้นการสนทนาแบบ Rail Conversations คือการคุยผ่าน วีดีโอConference นั่นก็คือ Google plus Hangouts เป็นการเปิดพื้นที่ในการสนทนาหลายคนพร้อมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือการนำเสนอสินค้าได้ ตลอดจนการเรียกเอกสารขึ้นมาดูหรือใบเสนอราคามาใช้ได้ อีกทั้งยังสามารถเผยแพร่ออกไปให้ผู้อื่นรับชมได้คล้ายถ่ายทอดให้รับชม
  7.      
  8. Increase your performance คือ การสร้างรายงาน โดย Google narcotic เพื่อวัดการเข้าดูแบบทันทีทันใดในขณะนั้น การตรวจสอบรายละเอียดของผู้เข้าชมเพื่อวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์
  9.      
  10. Engage your customer anywhere anytime คือ การค้นหาบนมือถือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงโฆษณาเราได้ ซึ่งต้องออกแบบให้เป็น Mobile site เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้
  11.      
  12. Go Global (AEC) คือ การเข้าถึงได้ทั่วโลก คือ Google มีความสามารถในการช่วยในด้านภาษาก็สามารถช่วยในการแปลภาษาให้เข้าใจระหว่างกันได้ ทำให้ภาษไม่เป็นอุปสรรคในการสื่อสารด้วย Google translate
__________________________________________________________________


2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์จากการบรรยายเรื่อง "Online Business with Google"


คำคัพท์
         
  1. Corporate คือ การร่วมกลุ่มความร่วมมือ,บริษัท

  2. Start up คือ การิเริ่ม การเริ่มต้น
  3.       
  4. Off line คือ การตัดจากระบบอินเตอร์เน็ต,การอยู่ในสถานะไม่ได้เชื่อมต่อระบบ

  5. Digital Marketing คือ การตลาดแบบดิจิตอล อาจเป็นสื่อ หรือเว็บไซต์ นำมาประยุกต์ใช้ทางการตลาด
  6.    
  7. Search คือ การค้นหา

  8. Moment คือ การดำเนินการในขณะนั้น
  9.    
  10. Page Rang คือ หน้าหลักของเว็บไซต์นั้นๆ ที่ใช้ในการติดต่อ

  11. Google adwords เป็นการค้นหาให้เป็นลำดับแรกๆ โดยการโฆษณาให้เป็นลำดับแรกจากการค้นหา เมื่อผู้เข้าชมคลิกทุกครั้งผู้ที่จ้างก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่มีการคลิก

  12. Natural Result คือ ผลที่ได้ออกมาตามธรรมชาติ

  13. Be found คือ การค้นพบ
  14.   
  15. Map คือ แผนที่

  16. Success คือ ประสิทธิผล การประสบความสำเร็จ

  17. Street view คือ มุมมองที่เสมือนจริง
  18.   
  19. segment คือ ส่วนประกอบ

  20. Conversations คือ การสนทนา

  21. Increase คือ การเพิ่มขึ้น

  22. Performance คือ การปฏิบัติ
  23.   
  24. Rail time คือ การทำงานแบบตอบสนองทันทีทันใด

  25. Engage คือ การประกอบ

  26. Global คือ ความทั่วถึง การเข้าถึงทั่วโลก
___________________________________________________________________

บรรยายเรื่อง "การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0" แล้วปฏิบัติดังนี้


1.สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการรับฟัง ลงใน Web Blog ของนักศึกษา

องค์ความรู้ที่ได้จากการบรรยายเรื่อง "การทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0"
      Social media นับว่ามีบทบาทที่สำคัญต่อการประกอบ Electronic Commerce ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทั้งด้านกาตลาดและผู้บริโภคที่มีปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก การที่เราจะสร้างแบรนสินค้าขึ้นมาให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องรู้เรื่องรูปแบบความต้องการ องค์ประกอบต่างๆ ตลอดจนการที่จะหลอมรวมเข้ากับโลกแห่ง Social ให้ได้ ซึ่งจากประเด็นการบรรยายดังกล่าวกระผมสามารถสรุปองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ในการดำเนิน Electronic Commerce ได้ดังนี้

      Social โลกแห่งการคบหาสมาคม ติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น Social media นั้นมีส่วนสร้างแบรนสินค้าใหม่เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งปัจจุบัน media ที่จะนำมาใช้สร้างสินค้าใหม่นั้นมีด้วยกัน 4 ประเภท
  1. OWNED mediaเป็น สื่อที่ผู้ประกอบการเองเป็นเจ้าของ ได้แก่ เว็บไซต์ บล็อก ซึ่งเป็นสื่อที่สร้างขึ้นมาเอง
  2.  PAID Media เป็นสื่อที่เราต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น แบรนดเนอ สปอนเซอร์ ชิฟ
  3.  EARNED Media เป็นสื่อที่ลูกค้า ผู้บริโภคทั่วไปเป็นเจ้าของ เช่น เฟชบุ๊ค ทวิชเตอร์ เป็นการแบ่งปันข้อมูลพูดคุยระหว่างกัน      
  4. Social media เป็นการสร้างสังคมเข้าหาลูกค้า ให้ลูกค้าได้มาพูดคุยกับเรา เพื่อหาข้อมูลความคิดเห็น แทนที่จะปล่อยให้ผู้บริโภคพูดถึงเราโดยที่เราไม่ส่วนร่วมรับรู้ด้วย ให้เราลุกขึ้นมาสังคมกับลูกค้าและตลาด ต้องสร้างตัวของสินค้าเราให้ลูกค้ามองเราในแง่ดีให้ได้
       Social media ถูกสร้างขึ้นมาจาการพูดหรือการสื่อสารปากต่อปาก โดยปัจจุบันทำได้ได้อย่างรวดเร็วโดยผ่านทางโลกสังคมออนไลน์ต่างๆ ได้อย่างทันที ซึ่งเรื่องนี้มีบทบาททางด้านการตลาด ผู้บริโภคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปโดยการที่จะสร้างแบรนสินค้าขึ้นมาใหม่จำเป็นที่จะต้องรู้ถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
  1. Globolization Interdependence การเปลี่ยนไปในเรื่องความคิด คิดว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีสิทธิออกความเห็นโต้แย้ง ไม่เห็นด้วยได้ มีอิสระในความคิดและตัดสินใจ
  2. Control of Media Customer is publisher ผู้บริโภควันนี้มีความเชี่ยวชาญในด้านความคิดเห็นต่อสินค้า อยากออกแบบสินค้าเห็นแบบที่ตนต้องการ ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่รอดูข้อมูลสินค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้บริโภควันนี้มีการแบ่งปันข้อคิดเห็นของตนแก่สาธารณะได้อย่างรวดเร็ว
  3. Conversations generate exposure sales การพูดคุยโต้ตอบระหว่างลูกค้าเพื่อที่จะสามารถขายสินค้านั้นได้ เราต้องมีการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ ที่มีเหตุผล น่าสนใจให้ได้จึงจะสามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจและเกิดการตกลง      
  4. Transparency – open source  ปัจจุบันเป็นยุคที่ทุกอย่างเปิดกว้าง ความโปร่งใส จริงใจนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมมั่น เรื่องการให้เครดิตต่างๆ ของผู้มีส่วนช่วยก็นับว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแบรุ่นสินค้าใหม่        
  5. Collaboration rulesการอาศัยความร่วมมือของผู้บริโภค   
          
  6. People use technologies to get thing that they need from each, other rather from corporations  ผู้บริโภคจะอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ในการแสวงหาข้อมูล สินค้า เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งเขาจะข้อมูลจากการพูดเล่าของผู้บริโภคด้วยกันก่อนเสมอ ผู้บริโภคจะไม่เชื่อจากผู้ผลิตทั้งหมดก่อน เขาจะมองเห็นเป็นการโฆษณา ซึ่งเขาจะเชื่อจากผู้บริโภคที่คุยบอกกันเองมากกว่า        
       ปัจจุบันอำนาจอยู่ในมือของผู้บริโภค กระบวนการสร้างแบรนสินค้าจึงเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการสร้างแบรนอันดับแรกจะต้องมองว่าจะสร้างยังไงคนจะรู้จักเรา ต่อมาเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บิโภคกับเรา แล้วทำให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้ เมื่อลองแล้วต้องทำให้ชอบและมีการบอกต่อให้ผู้บริโภคคนอื่น ซึ่งนอกจากการจงรักภักดีต่อเราต้องมีส่วนช่วยในการขยายตลาดของเราด้วย เราต้องทำให้ลูกค้ากล้าที่จะบอกต่อไปยังผู้บริโภคคนอื่นด้วย ซึ่งวิธีการทำอันดับแรกจะต้องติดต่อกับลูกค้า แล้วมีการให้ข้อมูลแก่ลูกค้าสร้างความน่าสนใจประทับใจแก่ลูกค้า ให้ลูกค้ามีส่วนช่วยแบ่งปันบอกต่อ โดยอาจผ่านทางสังคมและสังคมออนไลน์ซึ่งการแบ่งปันข้อมูลนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการเจริญเติบโตทางการตลาดของเราในโลกปัจจุบัน

      การสร้างการตลาดด้วย Electronic Commerce ทำให้เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบของเราเองได้ทั้งหมด ทำให้ผู้บริโภคมีการติดต่อ พูดคุยระหว่างผู้ผลิตมากขึ้น การที่จะทำให้คนที่ยังไม่ให้ความสนใจในสินค้าเราเกิดความสนใจในสินค้าเรานั้นมีความสำคัญ เราจะต้องหาวิธีให้เขาสนใจด้วยวิธีการต่างๆ ในยุคที่มีการนำ Social media มาใช้ประโยชน์ เราต้องการทำให้ผู้บริโภคมามีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจขนาดย่อม ผู้ประกอบการจะต้องสร้างการติดต่อระหว่างผู้ออกแบบสินค้ากับผู้บริโภค เพื่อจะได้มาซึ่งสินค้าที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการทดสอบตลาดหรือการเดาใจลูกค้าอยู่ การ Co-creation นั้นมีส่วนช่วยในการสร้างนวัตกรรมการาผลิตภัณฑ์แบบใหม่ๆ เป็นการให้ลูกค้าสร้างสินค้าตามความต้องการของตน การปฏิสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น การเก็บข้อมูล การวิจัยความต้องการ อีกทั้งสามารถจัดกลุ่มลูกค้า เพื่อการพัฒนากลยุทธ์ขององค์กรต่อไป

________________________________________________________________



2.หาคำศัพท์ที่ได้จากการรับฟังพร้อมหาความหมาย เพื่ออธิบายคำศัพท์ดังกล่าว อย่างน้อย 20 คำ แล้วสรุปใน Web Bblog


คำศัพท์
        Social media คือ สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร เขียนเล่าเนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน

        Social network คือ สังคสแห่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสสารผ่านทางระบบเครือข่าย

        Brand Building คือ การสร้างแบรนหรือตัวสินค้า

        Branding คือ กลยุทธ์ในการทำให้แบรนด์สินค้านั้นมีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค

        OWNED media คือ มีเดียที่ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของ ได้แก่ เว็บไซต์ บล็อก ซึ่งเป็นสื่อของเราเอง

        PAID Media คือ สื่อที่เราต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น แบรนดเนอร์ สปอนเซอร์ ชิฟ

        EARNED Media คือ มีเดียที่ลูกค้า ผู้บริโภคทั่วไปเป็นเจ้าของ เช่น เฟสบุ๊ค ทวิชเตอร์ ซึ่งเป็นการแบ่งปันข้อมูลพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน

        Buzz marketing คือ กลยุทธ์ในการสร้างสินค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จัและเกิดความต้องการในลักษณะของ การบอกต่อแบบปากต่อปาก ซึ่งเป็นกลยุทธ์การสื่อสารที่มีพลังขับเคลื่อนสูงมากต่อการสร้างความเชื่อถือและกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อ

        Viral manageting คือ เป็นรูปแบบทางการตลาด โดยลักษณะการกระจายข่าวสาร การทำตลาดแบบปากต่อปาก โดยใช้ สื่ออินเตอร์เน็ต หรือระบบเครือข่ายอื่นๆ เพื่อเอื้อให้การตลาดให้กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว

        Content curater คือ การเขียน รวบรวม และแบ่งปันบทความของบริษัทสู่ลูกค้าทางช่องทางการสื่อสาร จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุณมีความรู้, ชอบแบ่งปัน และยังช่วยให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นที่ลูกค้ามีต่อบริษัทมากขึ้น

        Marketing tip คือ เคล็ดลับทางการตลาด

        Old Formular คือ สูตรเก่า แบบดั้งเดิม

        Foods mount การพูดคุยปากต่อปาก

        Change of consumers การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค

        Mindset คือ ความคิดริเร่ม

        Globolization คือ ยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ

        Interdependence คือ การพึงพากัน

        Be long to the world คือ ความเท่าเทียมกัน

        Freedom คือ ความอิสรภาพ ไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจใด

        Control of Media คือ การควบคุมจัดการสื่อ

        Consumer is Publisher คือ การที่ผู้บริโภคเป็นผู้เผยแพร่สื่อ จ้อมูล ข่าวสารต่างๆ

        Proactive คือ ความเชี่ยวชาญในการดำเนินการต่างๆ

        Reviewer การตรวจสอบซ้ำ ข้อมูล

        Publisher การเป็นผู้นำเสนอข้อมูล ป่าวประกาศ

        Conversations การสนทนาที่มีการโต้ตอบ

        generate exposure คือ กาสร้างการเปิดรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆ

        Transparency ความโปร่งใส

        Open source คือ การเปิดรับข้อมูลต่างๆ การรับฟังความคิดเห็น

        Respect คือ ความเคารพในสิทธิต่างๆ

        Collaboration rules คือ ข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน

        People Use technologies คือ การที่ประชาชนเป็นผู้ใช้เทคโนโลยี

        In control คือ การอยู่ในการควบคุมสั่งการ

        Involvement คือ การมีส่วนร่วม

        Comment คือ ความเห็น ข้อเสนอแนะ

        Connect consumer คือ การติดต่อระหว่างลูกค้า ผู้บริโภค

        Information คือ ข้อมูลที่นำมาเผยแพร่

        Entertainment Value คือ ความน่าสนใจ

        Shear คือ การแบ่งปันข้อมูล ข้อคิดเห็นต่างๆ

        Col created Experian คือการมีส่วนร่วม

        Colcreate คือ การมีส่วนช่วยในการพัฒนา

        Reration ship คือ การสร้างความสัมพันธ์

        Co-creation การใช้ผู้บริโภคมามีส่วนร่วมในการสร้างผลิตภัณฑ์

        Innovate value คือ การปรับปรุงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

        Pathway คือ เส้นทางในการดำเนินงาน

        Conceptualized คือ แนวความคิด
______________________________________________________________

วิเคราะห์ประเด็น ให้ความคิดเห็นและตอบคำถามจากประเด็นปัญหา

      1. สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ตอบ.จากในมุมองของกระผมเห็นว่าสาเหตุที่ธุรกิจ E-commerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เป็นเพราะนิสัยของคนไทยเป็นส่วนหลัก รองลงมาก็คือด้านเทคโนโลยีที่ยังเข้าถึงไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด อีกทั้งด้านความรู้พื้นฐานของประชาชนะดับพื้นที่ยังไม่ค่อยเข้าถึงเทคโนโลยีด้าน E-commerce สักเท่าไร อีกทั้งยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้การเติบโตของ E-commerce ในไทยยังเป็นเช่นนี้ ซึ่งจากประเด็นเหล่านี้สามารถแยกแยะชี้แจงเพื่อความเข้าใจได้ดังนี้

      1.1 จากลักษณะนิสัยของคนไทย ที่ชอบความสะดวกสบาย รวดเร็ว และค่อนข้างเลือกในสินค้าอย่างถี่ถ้วน จึงทำให้คนไทยส่วนใหญ่หันที่จะมาเลือกซื้อสินค้าที่อยู่ใกล้ตนและยังร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน หรือห้างร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านของตนโดยเชื่อว่าจะสะดวกในกรณีมีปัญหาอย่างใด และสามารถเลือกดูคุณภาพสินค้านั้นได้ ซึ่งจากประเด็นนี้จะทำให้เห็นได้ว่าบทบาทการให้ความสนใจใน E-commerceจะค่อนข้างน้อย ซึ่งผู้บริโภคหลักที่ให้ความสนใจใน E-commerce นั้นจะเป็นเพียงห้างร้านขนาดปานกลางถึงใหญ่เท่านั้นที่ให้ความสนใจ

      1.2 ด้วยลักษณะภูมิประเทศด้านการตลาดที่เป็นอยู่ ซึ่งบ้านเรามีความสะดวกในการออกไปซื้อสินค้าต่างๆ เป็นอย่างมาก การออกไปซื้อสินค้าต่างๆ สามารถเดินทางไม่นาน โดยจากการสำรวจร้านค้าและห้างต่างๆในประเทศไทยนั้นมีมากมายภายใน 1 อำเภอ อาจจะมีหลายแห่ง ทั้ง Big C, Carfu, Lotus ทั้งห้างประจำท้องถิ่น หรือ 7-Eleven ก็มีมากมาย ซึ่งต่างจากประเทศที่มีการใช้ E-commerce สูง เนื่องด้วย ห้างร้านต่างๆของเขานั้นอยู่ไกลกันมาก การซื้อสินค้าออนไลน์ จึงสะดวกกว่า การเดินทางไปซื้อด้วยตัวเอง ซึ่งจากประเด็นนี้ก็จะทำให้สามารถเห็นข้อแตกต่างได้จัดเจนอีกส่วนหนึ่ง

      1.3 ด้านความเชื่อมั่นของคนไทย และความสะดวกสบายในการชำระเงิน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความเชื่อถือในการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ E-commerce เพราะนิสัยคนไทยเป็นคนขี้ระแวงและกลัว ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้าผ่าน E-commerce อาจจะมองรวมไปถึงการออกแบบของ E-commerce ของคนไทยบางแห่งยังไม่น่าเชื่อถือทำให้มุมมองทัศนคติของผู้บริโภคนั้นยังไม่ไว้วางใจในระบบ E-commerce ผู้บริโภคจึงหันมาซื้อสินค้าที่พบปะผู้ขายซึ่งให้ความมั่นใจแก่เขามากกว่า ตลอดจนการที่คนไทยส่วนน้อยจะมีความรู้เรื่องการ การชำระเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตหรือการชำระเงินออนไลน์ผ่านทางระบบต่างๆ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้นอาจเข้ามาเยี่ยมชมเลือกดูสินค้า แล้วอยากซื้อ แต่ไม่รู้จะชำระเงินอย่างไร ซึ่งทำให้เกิดการปิดกั้นด้านการซื้อสินค้าลงไป

      1.4 ด้านการสร้างเว็บไซต์ที่ยังไม่มุ่งต่อความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริง ซึ่งเว็บไซต์ E-commerce ในไทยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นความสวยงามน่าเข้าชมเข้าซื้อ แต่ขาดข้อคำนึงหลักคือ ลูกค้านั้นไม่ได้ต้องการเข้ามาดูเว็บไซต์ที่สวยงามนัก เพียงแต่มองหาสินค้าที่ต้องการและสามารถอำนวยความสะดวกในการซื้อสินค้าให้เขาได้อย่างง่ายและรวดเร็วเท่านั้น ตลอดจนดูเป็นมาตรฐานน่าเชื่อถือเท่านั้น ซึ่งรวมช่องทางการติดต่อที่ให้ลูกค้าส่งข้อมูลเพื่อสื่อสารกับผู้ให้บริการไปให้กลับเป็นแหล่งที่ยังไม่น่าเชื่อถือในมุมมองของลูกค้า เช่น การใช้เมล์ที่เป็นฟรีเมล์ ซึ่งในมุมมองของลูกค้านั้นอาจมองว่ายังไม่น่าเชื่อถือว่าเป็นของผู้ให้บริการจริงหรือไม่

      1.5 ด้านการทำประชาสัมพันธ์หรือ การโปรโมทเว็บ ซึ่งการทำเว็บไซต์เป็นที่รู้จักติดหูแก่ผู้บริโภคนั้นทำได้ยาก ผู้ดำเนินการจะต้องหาวิธีการอย่างไรให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ซึ่งในทัศนคติของคนไทยจะติดอยู่เพียงที่เดิมที่ตนเคยเข้าใช้บริการเท่านั้นจึงเป็นการยากที่ที่เว็บไซต์ E-commerce ใหม่ๆ จะเข้ามามีบทบาทร่วมทางการตลาด เจ้าของเว็บไซต์ต้องหาวิธีโปรโมทให้ติดอันดับใน Search Engine ให้ได้ โดยชั้นนำของโลกอย่าง Google

      1.6 การวางตลาดที่ยังไม่กำหนดตำแหน่งที่แน่ชัด ซึ่งผู้ค้าส่วนใหญ่จะให้ความหวังในการขายสินค้าได้ทั่วทุกที่อาจทั่วโลก ทำให้ไม่คำนึงถึงตลาดโดยตรงไม่มุ่งเน้นไปที่ตลาดโดยตรง ไม่เจาะความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่แท้จริงทำให้สินค้าประเภทที่ดำเนิน E-commerce นั้นไม่สามารถเกิดการโอนย้ายสินค้า

      1.7 ด้านการส่งเสริมของภาครัฐที่ยังไม่มีการส่งเสริมให้ผู้บริโภคเล็งเห็นถึงจุดมุ่งหมาย และผลตอบแทนจากการใช้ E-commerce ในด้านต่างๆ ซึ่งทำให้การเจริญเติบโตของ E-commerce ยังไม่ดีเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากประชาชนในประเทศขาดการแนะนำ เชิญชวน ชักจูง จากภาครัฐที่เป็นภาคหลักในการบริหาร ชี้แนวทางประเทศให้เป็นไปในทิศทางต่างๆ นั่นเอง
_______________________________________________________________________

     2. ถ้าอยากจะให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ นักศึกษาคิดว่าควรจะต้องประกอบด้วยปัจจัยใดบ้าง

ตอบ.การที่ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จและมีการเจริญเติบโตได้นั้นมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้องที่เป็นตัวกำหนด ทั้งด้านการตลาด ความทั่วถึงเทคโนโลยี ความรู้ความสามารถ ตลอดจนทัศนคติค่านิยมของคนไทย ซึ่งสามารถแยกปัจจัยต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบได้ดังนี้

      2.1 การมองหาช่องทางตลาดของ E-commerce เป็นการเล็งเห็นถึงช่องทางทางการตลาดและรีบตัดสินใจนำมาดำเนินการเพื่อสร้างจุดได้เปรียบทางการแข่งขันบนระบบ E-commerce ตลอดจนสร้างความน่าสนใจให้กับผู้บริโภคให้หันมาสนใจในมุมมองใหม่นั้นโดยคิดอย่างรอบคอบและมองให้เห็นถึงอนาคต การคาดการณ์ที่อาศัยปัจจัยแปรต่างๆ ที่มีผลต่อระบบ

      2.2 การสร้างมุมมองที่อุดช่องโหว่ของความไม่เชื่อมั่นและความกลัวของคนไทย ในการใช้บริการ E-commerce ซึ่งผู้ดำเนินต้องมีแนวทางในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการใช้บริการ E-commerce ให้เชื่อในความปลอดภัย เห็นถึงข้อดีต่างๆ ที่ได้จากการใช้งาน สร้างตัวจูงใจในการใช้บริการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การที่ได้สินค้าในราคาที่ถูกกว่าและมีคุณภาพ อันเนื่องมาจากการติดต่อโดยตรงไม่ผ่านคนกลางใดๆ

      2.3 การมองหาถึงช่องทางที่อำนวยความสะดวกและปลอดภัยให้แก่ลูกค้ามากที่สุด ซึ่งเป็นการกล่าวในด้านการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งการที่จะทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่เชื่อถือนั้นต้องอาศัยการออกแบบที่รัดกุม น่าเชื่อถือ และที่สำคัญต้องอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการให้มากที่สุด ตลอดจนการมองหาช่องทางหรือการเปิดช่องทางที่หลากหลายให้ผู้บริโภคได้เลือกชำระเงินได้อย่างสะดวกมากที่สุด มีตัวเลือกให้หลายเส้นทางที่สุด และคำนึงถึงความปลอดภัยร่วมด้วย

      2.4 การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการลงทุนและข้อมูลเนื้อหาที่เสนอ ตลอดจนการติดต่อผสานงานกับส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินงาน เช่นด้านการขนส่ง ด้านการชำระเงิน ด้านการให้บริการแก่ลูกค้า อีกทั้งส่วนสำคัญคือการสร้างข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ อันเป็นการสร้างฐานความเชื่อมั่นทางการตลาดเป็นสำคัญนั่นเอง

      2.5 การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่มีส่วนช่วยระหว่างกัน ซึ่งการที่เราจะดำเนินธุรกิจ E-commerce เพียงผู้เดียวคงจะเป็นการสำเร็จตามเป้าหมายที่ยาก การมีพันธมิตรทางการค้านับเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างตลาดให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้บริโภค ตลอดจนการสร้างโครงข่ายความช่วยเหลือระหว่างกันเป็นสำคัญ อาทิการแลกแบรนเนอร์ การฝากลิงค์ การแบ่งปันพื้นที่หน้าเว็บไซต์ระหว่างกัน ซึ่งเป็นหลักการสร้างเส้นทางในการเข้าถึงระหว่างกันนอกจากนั้นยังเป็นส่วนช่วยในการส่งเสริมทางการตลาดเป็นอย่างดี ทำให้ผู้บริโภคมองหาสินค้าอื่นอีก นอกจากการมองจากแหล่งๆ เดียว ทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นศูนย์กลางที่ผู้บริโภคเลือกเข้ามาใช้บริการ อันมีผลพลอยได้หลายประการ นอกจากการขายสินค้าเท่านั้น

      ซึ่งโดยสรุปแล้วการที่จะขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จนั้นจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลักคือการมองเห็นช่องทางทางการตลาดเป็นสำคัญ การมองหาถึงความต้องการและไม่ต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนการสร้างพันธมิตรความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ E-commerce เป็นส่วนช่วยระหว่างกันอันเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะทำให้การดำเนิน E-commerce ของไทยประสบความสำเร็จอย่างก้าวหน้าและมั่นคงตลอดไป

----------------------------- ขอบคุณในข้อเสนอแนะและความคิดเห็นครับ --------------------------------

กรวิทย์ ปานสวย